Bookmark and Share Add to Favorites  
สมาชิกเข้าสู่ระบบ
User Name:
Password:
จำการล็อกอินของฉันไว้
ลืมรหัสผ่าน | สมัครสมาชิก
ลืมรหัสผ่าน
ใสอีเมล์ที่ลงทะเบียนไว้กับเรา
จีนศึกษา
  CHINESE TEXT PROJECT
  STANDARD CHINESE
  เส้นสายลายอักษร
  ลัทธิเต๋า
  รวมเรื่องจีนศึกษา-China Knowledge
  วัฒนธรรมศึกษาจากเว็บต่างๆ
  วัฒนธรรมศึกษาจากภาพ
  พระบรมฉายาลักษณ์ของฮ่องเต้
  มังกรจีนสมัยโบราณ
  มังกรจีนศึกษา
  เลือกเพศให้ลูก
  จีนโบราณจาก บริทิชมิวเซียม
  การเดินทางไกลของเหมาเจ๋อตุง
  จีนในปัจจุบัน
แซ่สกุล
  แซ่ตระกูลที่ใช้กันมาก
  ข้อมูลตระกูลแซ่ต่างๆ
  ประวัติบางแซ่สกุล
  200 แซ่สกุลที่ใช้มาก
  ตระกูลแซ่หลิน
มหาวิทยาลัยชั้นนำ
  BEIJING UNIVERCITY
  Shanghai Jiao Tong University
  Tsinghua University
  Xi'an Jiaotong University
  The Chinese University of Hong Kong
  The University of Hong Kong
  The Hong Kong University of Science and Technology
  Southeast University
  East China Normal University
  Tongji University
  Huazhong University of Science and Technology
  The Hong Kong Polytechnic University
  Tianjin University
  City University of Hong Kong
  Harbin Institute of Technology
  Wuhan University
  China Agricultural University
  Renmin University of China
  Xiamen University
  Fudan University
  Hong Kong Baptist University
  Shandong University
  Nanjing University
  University of Science and Technology of China
  Zhe Jiang University
พิพิธภัณฑ์และหอสมุด
  NATIONAL LIBRARY OF CHINA
  CHINA'S MUSEUMS
  GREAT WALL OF CHINA
  SACRED MOUNTAINS OF CHINA
หนังสือพิมพ์
  ซินหัวไทย
  People's Daily
  Xinhua
  China Daily
  China News
  China .com.cn
  China Youth Daily
เจ - มังสวิรัติ - VEGETARIAN
  เจ-อิ่มบุญ
  พลังบุญ
  เมนูอาหารเจ
  เจทิพย์
  อาหารมังสวิรัติ
  International Vegetarian Union (IVU)
  The Veggie Hub
  Vegetarianism
  A Guide to Vetetarian
  simple-veganista.com/all-recipes
เว็บเครือสมบูรณ์
  สมบูรณ์แก่นโน้ต
  ตระกูลแซ่หลิน
  ภูเก็ตสารสนเทศ
  สมบูรณ์แก่นโน้ต

หยูอี้ : คทาถือกันเพื่ออะไร


 

        หยูอี้ 如意 หรือ ยู่อี่ หมายถึง คทาที่ฮ้องเต้พระราชทานแก่ขุนนางผู้ใหญ่ เพื่อที่จะเข้าเฝ้าได้ หยูอี้จึงเป็นป้ายประจำตำแหน่งของขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายบุ๋นที่จะเข้าเฝ้ากราบบังคมทูลเฉพาะในท้องพระโรง เวลากราบบังคมทูล ผู้ถือป้ายมักกราบบังคมทูลหรือพูดกับแผ่นป้ายแทนที่จะมองพระพักตร์ฮ้องเต้แล้วกราบบังคมทูล หรือรับสนองรับสั่งจากฮ้องเต้ ป้ายหยูอี้จึงใช้ในกรณีประชุมขุนนางผู้ใหญ่ในท้องพระโรงที่เป็นทางราชการเท่านั้น และมักเรียกกันว่า ป้ายเข้าเฝ้าหรือป้ายขอเฝ้า ดังนั้นผู้ถือป้ายหยูอี้ จึงเป็นผู้ที่มีพลังและอำนาจ ที่จะกระทำการใดๆตามตำแหน่งที่ได้รับพระราชทานจากฮ้องเต้ ส่วนเวลาเข้าเฝ้าฮ้องเต้นอกท้องพระโรง และไม่เป็นทางราชการ จึงไม่ต้องถือหยูอี้

        ลักษณะของหยูอี้หรือคทา เป็นรูปตรงหรือโค้งงอ มีสามส่วน คือ ส่วนหัว ตรงกลาง และส่วนปลาย ตรงส่วนหัวจะใหญ่กว่าอีกสองส่วน มักเป็นรูปเห็ดหลินจือ รูปเมฆ หรือรูปกำปั้น มักฝังด้วยเพชรนิลจินดา ด้ามหรือทุกส่วนทำด้วย ทองคำ เงิน หยก เหล็ก ไม้ไผ่ ไม้ งาช้าง นอแรด กัลปังหา แก้ว เครื่องเคลือบ เป็นต้น ปัจจุบันเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์พระราชวังกู้กงที่กรุงปักกิ่งมีเกือบสามพันชิ้น บางส่วนนำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วประเทศ   

 

        ตามประวัติ กล่าวว่า หยูอี้ความหมายดั้งเดิมนั้นหมายถึง ไม้เกาหลัง หรือ มีดสั้นที่พกพาเพื่อป้องกันตัว ต่อมาความหมายและการใช้ได้ขยายออกไป หยูอี้จึงมีความหมายว่า “ตามที่ท่านต้องการ” หรือ เป็นสัญลักษณ์ของความประสงค์ดีและความเจริญรุ่งเรือง ความรุ่งโรจน์ของชีวิตและหน้าที่การงาน การค้าขาย งานธุรกิจ หยูอี้จึงมักปรากฏรูปตามเหรียญที่ระลึก หรือผ้ายันต์ หรือวัสดุอื่นๆ ตามลัทธิเต๋า หรือเงินเหรียญ เงินกงเต็ก เป็นต้น

        อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า คำว่า หยูอี้ พัฒนามาจากภาษาสันสกฤตจากคำว่า “อนุรุทธะ” ซึ่งหมายถึงพระอนุรุทธะเถระ พระอรหันต์ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า “ผู้เป็นเอตทัคคะทางทิพพจักขุญาณ”  ต่อมาพระสงฆ์ในอินเดียนิกายวัชรยาน ได้ใช้ วัชระหรือ คทาในการประกอบพิธีกรรม  เมื่อพุทธศาสนานิกายวัชรญานเผยแผ่ในธิเบต เข้าสู่จีน คำว่า อนุรุทธะ ชาวธิเบต จีน เรียกว่า อนาลู่  阿那律 การประกอบพิธีกรรมของพระสงฆ์นิกายมหายาน ที่สำคัญมีสามประการคือ การแสดงมุทธระ คือการแสดงสัญลักษณ์ด้วยมือ การแสดงมนตรา คือการสวดมนต์ และการแสดงมนตาละ หรือ อนาลู่ ซึ่งหมายถึง วัชระ อันเป็นรูปเพชรมณีหรือสายฟ้าประดับอยู่บนระฆังใบเล็ก ใช้สั่นเวลาสวดมนต์ คำว่า อนาลู่ ต่อมาพัฒนาเป็น หยูอี้

        คำว่า หยูอี้ ได้ปรากฏในประวัติศาสตร์ สมัยราชวงศ์ฮั่น ระหว่างก่อนค.ศ. ๒๐๖ ถึง ค.ศ. ๒๔ ซึ่งหมายถึงคำอวยพรคือ “ขอให้ได้ดังประสงค์” และยังได้ปรากฏเป็นพระนามพระโอรสในฮ่องเต้ฮั่นเกาจู่ ว่า หลิว หยูอี้ (สิ้นพระชนม์ ค.ศ. ๑๙๕) ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น ระหว่างค.ศ. ๒๕ - ๒๒๐ และราชวงศ์จิ้น ระหว่างค.ศ. ๒๖๕ - ๔๒๐ พวกนักการศึกษา พวกขุนนางตลอดจนคนอาชีพอื่นๆมักใช้หยูอี้ถือเวลาสนทนากัน เรียกว่า  ถานผิ่ง  談柄 หรือไม้ปัดแมลงที่ทำด้วยขนหางจามรีที่เรียกว่า จู่เหวย 麈尾 เวลาใช้สนทนาหรือโต้ตอบหรือโต้วาทีกันด้วยเหตุผล หากผู้ตอบตอบถูก ผู้ถามนำอภิปรายจะยกจู่เหวยชูขึ้น ถ้าตอบผิดเขาจะชี้ลง เป็นสังคมผู้รู้นักปราชญ์ใช้กันมากสมัยหกราชวงศ์ระหว่างค.ศ. ๒๒๐ - ๕๘๙

        จากประวัติศาสตร์ราชวงศ์เว่ยเหนือ เมื่อฮ่องเต้เชียวเหวินซึ่งทรงครองราชย์ระหว่างค.ศ. ๔๗๑ - ๔๙๙ ทรงต้องการสละราชสมบัติ จึงทรงเลือกราชบุตรหลายองค์ว่าองค์ใดเหมาะที่จะเป็นฮ่องเต้องค์ต่อไป ด้วยการให้ราชบุตรเลือกสิ่งของต่างๆที่วางไว้ มีองค์หนึ่งที่ทรงหยิบเอาหยูอี้ที่ทำด้วยกระดูกขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคิดในการปกครองบ้านเมือง พระองค์คือ ฮ่องเต้เฉวียนอู่ ซึ่งครองราชย์ประมาณค.ศ. ๕๐๐ - ๕๑๕

         ได้มีผู้ศึกษาพบว่า หลังจากคริสต์ศตวรรษที่๖ เป็นต้นมา หยูอี้มีความสำคัญในราชสำนักและการปกครอง ด้วยหยูอี้เป็นสัญลักษณ์ของนักปกครองและรวมทั้งพระสงฆ์ก็ยังคงใช้ด้วย ประมาณค.ศ. ๘๘๖ สมัยราชวงศ์ถัง ฮ่องเต้ถังเหวินจง ได้พระราชทานหยูอี้ให้หลี่ชวิน พร้อมกับรับสั่งว่า “หยูอี้นี้มีอำนาจทำให้เจ้าเป็นครูและสั่งสอนคนได้”

        ในสมัยราชวงศ์หมิง ระหว่างค.ศ. ๑๓๖๘ - ๑๖๔๔ หยูอี้กลายเป็นเครื่องประดับของที่ระลึกในการให้พรขอให้มีโชคมีลาภ ถึงสมัยราชวงศ์ชิง ระหว่างค.ศ. ๑๖๔๔ - ๑๙๑๒ ไม้คทาหยูอี้เป็นสัญลักษณ์ทางอำนาจทางการเมือง ที่ใช้กันในราชสำนักชิง ที่ฮ่องเต้มักพระราชทาน และมักทำให้ลงเลขเป็นเลข ๓ และเลข ๙ คือ มีหัวสองข้างและตรงกลางเป็นด้ามจับถือ ที่เรียกว่า ซานเจียงหยูอี้三鑲如意   และชุดเลข ๙ ที่เรียกว่า จิ่วจิ่วหยูอี้ 九九如意

        หยูอี้ที่ใช้กันในสมัยโบราณก็เพื่อป้องกันตนเองจากเพทภัยที่มองไม่เห็น จึงมักทำด้วยเหล็กและไม่ได้เคร่งครัดเรื่องรูปแบบ บางส่วนอาจเป็นทองคำหรือเงิน และสีมักหมองคล้ำ ซึ่งถือว่าเป็นของดีมากกว่าที่ทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่

        หยูอี้มักปรากฏในรูปพระอริยสงฆ์ฝ่ายมหายานและมักปรากฏในรูปเซียนตามลัทธิเต๋า เช่น รูปฮกลกซิ่ว รูปไฉเสิน เป็นสัญลักษณ์ผู้มีอำนาจ เป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย เป็นสัญลักษณ์การให้ของขวัญเพื่อแสดงถึงความประสงค์ดีต่อผู้รับ เป็นสัญลักษณ์ของการพบความสำเร็จในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

:   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน  ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

s.kantakian@gmail.com

*****

 

 

บทความอื่นๆ ในหมวดเดียวกัน