|
วัดเส้าหลิน 少林寺
วัดเส้าหลิน 少林寺 ตั้งอยู่ที่ภูเขาซ่งซาน เมืองเติงเฟิง มณฑลเหอหนาน คำว่า เส้า คือ ภูเขา เส้าซื่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพืดเขาซ่งซาน ส่วน คำว่า หลิน หมายถึง ป่า ดังนั้นวัดเส้าหลิน จึงหมายถึงวัดป่าแห่งภูเขาเส้าซื่อ วัดตั้งอยู่ตรงส่วนทิศเหนือของภูเขาเส้าซื่อ และอยู่ทางยอดทิศตะวันตกของภูเขาซ่งซาน วัดเส้าหลินเริ่มก่อสร้างตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ พ.ศ. ๙๒๘ ๑๐๗๗ ในรัชสมัยฮ่องเต้เซี่ยวเหวินตี้ ( เอวี๋ยนหง ) ในปีรัชกาลไท่เหอที่ ๑ พ.ศ. ๑๐๒๐ และปีไท่เหอที่ ๑๙ พ.ศ. ๑๐๓๘ ซึ่งตั้งเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง เดิมนับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทต่อมาเปลี่ยนเป็นมหายาน เจ้าอาวาสรูปแรกคือ พระภัทระ ชาวอินเดียซึ่งเดินทางไปจีนเมื่อพ.ศ. ๑๐๐๗ ใน ปีพ.ศ. ๑๐๗๐ พระตักม้อหรือพระโพธิธรรมชาวอินเดียได้เดินทางเข้าจีนและเข้าเฝ้าฮ่องเต้ ราชวงศ์เหลียงที่เมืองนานกิงคือฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ( เซียวเอวี่ยน ) ต่อมาท่านเดินทางไปวัดเส้าหลิน จำพรรษาอยู่ที่นี่ถึง ๙ ปีจนสำเร็จมรรคผล เป็นบ่อเกิดของลัทธิฌานหรือเซ็น ต่างถือกันว่าท่านเป็นสังฆนายกองค์แรกของจีน ใน ปีพ.ศ. ๑๑๑๗ ฮ่องเต้เซวียนตี้ ( เฉินซิ่ว ) แห่งราชวงศ์เฉินไม่ทรงโปรดพุทธศาสนา วัดเส้าหลินจึงถูกทำลายลงสิ้น แต่ต่อมาก่อสร้างใหม่ในสมัยราชวงศ์โจวเหนือ ด้วยฮ่องเต้จิงเหวินทรงสนับสนุนพุทธศาสนา ใน ปีพ.ศ. ๑๑๖๔ แห่งราชวงศ์ถัง หลี่ซื่อหมินโอรสฮ่องเต้ถังไท่จู่ ขณะที่ยังดำรงพระยศเป็นอ๋อง ได้มีพระสงฆ์วัดเส้าหลินจำนวน ๑๓ รูป เข้าทำลายฝ่ายหวางซื่อกง หลี่ซื่อหมินจึงพระราชทานเป็นบำเหน็จให้แก่วัด หลังจากที่หลี่ซื่อหมินเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้ถังไท่จงแล้ว ได้พระราชทานนามวัดใหม่และให้เป็นใหญ่กว่าวัดทั้งปวง หลังจากนั้นพระวัดเส้าหลินต่างฝึกวิทยายุทธอย่างขนานใหญ่จนมีชื่อเสียงไป ทั่ว มีทหารพระกว่าพันรูป ในช่วงนั้นได้มีก๊กต่างๆหลายก๊ก ถูกทำลายจนเหลือก๊กเดียวคือผู้ก่อตั้งราชวงศ์ถัง มีนักรบหลายคนหลายสถานที่จากก๊กต่างๆที่ต่างหลีกหนีเข้าไปบวชอยู่ที่วัดนี้ ดังนั้นจึงเป็นที่รวมของเหล่าผู้กล้าที่มีวิทยายุทธแตกต่างกัน ได้สั่งสอนศิษย์พระให้มีวิทยายุทธกล้าแกร่ง จึงไม่ใช่รูปแบบการต่อสู้ของท่านตักม้อที่กล่าวกัน เพราะวิทยายุทธเหล่านั้นมีมานานก่อนท่านตักม้อเข้าประเทศจีน วัดเส้าหลินได้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงสมัยราชวงศ์หมิง เมื่อราชวงศ์ชิงเถลิงอำนาจ ในปีพ.ศ. ๒๑๘๗ ทางวัดถูกอ้างว่าสนับสนุนราชวงศ์หมิงดังมีคำขวัญว่า ทำลายชิง ฟิ้นฟูหมิง ซึ่ง ชาวจีนทั่วประเทศทำการต่อต้าน มิใช่แต่พระวัดเส้าหลินเท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งก็ไปลงที่วัดเส้าหลินหนักที่สุด การทำลายครั้งนี้ทำให้เกิดศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวแพร่หลายไปทั่วประเทศ โดยมีพระสงฆ์ ๕ รูป คือ พระหงอมุ่ย พระจีซินซิมซี พระฟุงโตตุ๊ก พระมิวฮินและพระปักเม่ยเป็นผู้นำ ซึ่งปรากฏชื่ออยู่ในตำนานกังฟู ทางการจีนโดยราชวงศ์ชิง จึงทำการกวาดล้างเผาวัด ทำให้เกิดวัดเส้าหลินที่มณฑลฝูเจี้ยนขึ้นซึ่งเลียนแบบวัดเส้าหลินทุกประการ ศิลปะการต่อสู้จึงแพร่หลายไปญี่ปุ่นเป็น คาราเต้ แต่ต่อมาฮ่องเต้คังซี แห่งราชวงศ์ชิง ครองราชย์ระหว่างพ.ศ. ๒๒๐๕ ๒๒๖๕ ทรงให้การสนับสนุนวัดเส้าหลิน โปรดฯให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จะเห็นศิลาจารึกตลอดจนป้ายอักษรแมนจูและอักษรจีนอยู่ในป้ายเดียวกันแขวนอยู่ หน้าอาคารศาลา ในปีพ.ศ. ๒๔๗๑ วัดเส้าหลินถูกเผาโดยนายทหารชื่อ ซื่อโหยวซาน ไฟเผากุฏิอาคารศาลาต่างๆในวัดถึง ๔๐ วัน และกว่า ๙๐ % ที่ถูกทำลายไป รวมทั้งพระคัมภีร์ในหอสมุดวัดด้วย ในปีพ.ศ. ๒๕๐๙ เกิดยุคปฏิวัติวัฒนธรรม พวกเยาวชนเรดการ์ ดบุกเข้าทำลายวัด แต่มีพระสงฆ์ ๕ รูปตั้งป้อมสู้ ในที่สุดถูกจับได้ พวกทหารเยาวชนมัดแห่ไปรอบเมืองจนถูกขว้างปาด้วยสิ่งของแล้วเอาไปขังคุก ทางรัฐบาลจีนจึงเข้าไปรื้อข้าวของโยนทิ้งออกนอกกำแพงวัด ทำลายทุบทิ้ง จนทำให้วัดเส้าหลินร้างไปหลายปี ดีที่พวกเขาไม่ได้ไปขุดทำลายเจดีย์สุสานที่บรรจุศพพระสงฆ์กว่า ๒๓๐ สถูป จึงเห็นที่เก่าแก่จริงๆก็แค่ที่สุสานนั่นเอง ส่วนหลักศิลาจารึกของฮ่องเต้หลายรัชกาลก็ยังคงอยู่ที่เดิม ต่อ มาศิษย์วัดเส้าหลินที่กระจายอยู่ต่างประเทศ ได้รวบรวมเงินเป็นจำนวนมาก ขอทางการจีนเข้าไปบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ แต่ศิลปะการต่อสู้แบบกังฟู ทางการจีนไม่อนุญาตให้มีในวัด จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ พระซื่อหย่งซิน เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๓ ได้พัฒนาวัดเส้าหลิน โดยเน้นการนั่งวิปัสสนาธุระและการสวดมนต์แทน อย่าง ไรก็ตาม ชาวเมืองต่างพยายามสร้างโรงเรียนศิลปะการต่อสู้ขึ้นใกล้วัดเส้าหลิน ในระยะแรกทางรัฐบาลไม่อนุญาต ต่อมาจึงเปิดไฟเขียวให้สร้างได้ ทำให้เกิดโรงเรียนสอนกังฟูขึ้นเป็นจำนวนมากตลอดสองข้างทางไปวัดเส้าหลิน บริเวณรอบๆภูเขาเส้าซื่อ กว่า ๘๐ แห่ง โดยรับนักเรียนตั้งแต่อายุ ๕ ขวบขึ้นไป วัด เส้าหลินจึงเป็นวัดที่แข็งแกร่งมีประวัติที่โลดโผนยากที่จะมีวัดใดเสมอ เหมือน วัดเส้าหลินในปัจจุบันจึงมีคนนิยมไปทัศนศึกษาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากทุกปี
: สมบูรณ์ แก่นตะเคียน ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๑
Title : Shao Lin Si, Dengfeng, Henan.
: Somboon Kantakian
Credits : Somboon Kantakian 24/05/2004
ภาพประกอบ
********
|
|
|